โพลีเมอร์โมดิฟายด์แอสฟัลต์ซีเมนต์ หรือ POLYMER MODIFIED BITUMEN
เป็นยางมะตอยสำเร็จรูปที่ได้จากการผสมโพลีเมอร์ (POLYMER) ให้เข้ากับยางมะตอย
ด้วย SBS 3% -7 % เพื่อให้มีความยืดหยุ่นและเหนียวมากขึ้น
ทำให้ได้คุณภาพผิวทางที่ไม่แข็งเปราะ ไม่แตกร้าวง่าย มีความยืดหยุ่นสูง เหมาะสำหรับเส้นทางที่มีปริมาณจราจรสูง ป้องกันไม่ให้เกิดการทรุดตัวจนเป็นร่องล้อถาวรได้ง่าย และช่วยยืดอายุของถนน
การผลิตทำได้โดยกระบวนการทางโรงงานอุตสาหกรรม ที่ต้องมีอุปกรณ์ผสม High Shear ที่ออกแบบให้สามารถตีเนื้อโพลีเมอร์กระจายได้กลมกลืนผสมเข้าในเนื้อยางมะตอย
SBS (STYRENE BUTADIENE STYRENE) เป็นโคโพลีเมอร์ที่นิยมนำมาใช้โมดิฟายยางมะตอย และสเปคยางโมดิฟายแบบดั้งเดิมนั้น ได้ออกแบบเน้นเพื่อวัดคุณสมบัติของยางโมดิฟาย เป็นหลัก (ซึ่งตั้งต้นจาก SBS) เช่น
ภาพประกอบบน: การวัดแบบดั้งเดิมที่เน้นการวัดค่าของวัสดุยาง
ซึ่งการวัดคุณสมบัติของวัสดุยางโมดิฟาย ก็เป็นที่คุ้นเคยมาอย่างยาวนานแล้วสำหรับผู้ผลิต และ หน่วยงานกำกับออกข้อกำหนดสเปคถนน
แต่อาจยังไม่ตอบโจทย์ครอบคลุมพอ .....
เมื่อต้องการ วัดประสิทธิผลการใช้งานจริง ๆ บนพื้นผิวถนน ที่มี
เพอร์ฟอร์แมนซ์เกรด (Superpave Performance Grading)
เมื่อต้นทศวรรษ 1990 ได้มีการพัฒนาการวัดประสิทธิผล สำหรับโพลีเมอร์โมดิฟายแอสฟัลต์ซีเมนต์ขึ้นมาใหม่ นำเสนอโดย
Strategic Highway Research Program (SHRP) จากสหรัฐอเมริกา
ได้ข้อกำหนดการวัดแบบใหม่ที่เรียกว่า
เพอร์ฟอร์แมนซ์เกรด (Superpave Performance Grading)
หรือเรียกย่อๆ ว่า PG โดยออกแบบวิธีวัดอิงตามหลักวิศวกรรม ที่ได้กำหนดช่วงอุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุดค่าเฉลี่ยอุณหภูมิ 7วันของพื้นผิวจราจรจริง
เพื่อวัดว่ายางโมดิฟาย สามารถคงคุณสมบัติด้าน "Dynamic Shear" ได้ตามที่กำหนดหรือไม่
วัตถุประสงค์ได้เน้นเพื่อให้ได้ยางโมดิฟายที่เหมาะสมมาใช้งานในช่วงอุณหภูมิสูงสุด ถึงต่ำสุดแล้ว ให้เกิด Functional Failure (ความเสียหายด้านการใช้งานพื้นผิวจราจร) น้อยที่สุด เช่น
ภาพประกอบนี้ แสดงวิธีอ่านค่าสเปค PG โดยมีตัวเลขอุณหภูมิ (องศาเซลเซียส)
PG เป็นที่สนใจมากขึ้นเรื่อยๆจากทั่วโลก หน่วยงานกำกับที่ออกสเปคถนนต่างเริ่มนำระบบ PG มาพัฒนาสเปคยางโมดิฟาย ให้ตอบสนองการออกแบบผิวจราจรได้ชัดเจนมากขึ้น
ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีหลายประเทศทั้งหน่วยงานหลวง หรือ เอกชน เริ่มใช้ยางโมดิฟายเกรด PG76 มาระยะหนึ่งแล้ว
โดยค่าท้ายที่พบบ่อยมักจะเป็น -10 เพราะสภาพภูมิอากาศแถบนี้ไม่น่าจะหนาวจัดถึงติดลบ
ส่วนเอเชียเหนือ เราอาจเห็นค่าท้าย ลงไปถึง -22 หรือ ต่ำกว่าได้อีก
ทำความรู้จักกับ
Reactive Ethylene Terpolymer (RET) :Lotader AX
นอกเหนือจาก SBS ที่คุ้นเคยกันมานานแล้ว
RET ได้มีการถูกใช้เป็นตัวโพลีเมอร์สำหรับโมดิฟายยางมะตอยมาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในทวีปอเมริกาเหนือ และ ตะวันออกกลาง ซึ่งสามารถบรรลุข้อกำหนดสเปค PG ได้เป็นอย่างดีเช่นกัน
RET Lotader AX มีองค์ประกอบโมโนเมอร์หลัก 2-3 ตัว ที่ถูกผลิตโดยโพลีเมอไรซ์ภายใต้กระบวนการ High Pressure Procress Polymerziation
ได้โพลีเมอร์ที่มีโครงสร้างหลากหลายเช่น
Ethylene - Acrylate Ester - GMA และ
Ethylene - Vinyl Acetate - GMA และ
Ethylene- GMA
RET มีคุณสมบัติข้อดีทั้งความแข็ง ความยืดหยุ่น ความเสถียรสูง ต่างๆ มารวมกันเป็นโพลีเมอร์ โดย
องค์ประกอบเหล่านี้ ทำให้ RET สามารถผสมกระจายเข้าในยางมะตอยร้อนได้ง่ายโดยไม่ต้องลงทุนเครื่อง High Shear Mixer ที่ราคาสูง และ ได้ยางโมดิฟายที่สามารถจัดเก็บได้อย่างยาวนานโดยไม่เกิดปัญหาแยกชั้น ด้วยพันธะที่เสถียรระหว่าง RET และ แอสฟัลทีนของยางมะตอย
สรุปจุดเด่นการใช้งาน RET
ภาพประกอบ : กระบวนการผสม RET Lotader AX ที่ทำได้ด้วยอุปกรณ์ผสมปกติและไม่ยุ่งยาก โดยไม่ต้องพึ่งพาอุปกรณ์ High Shear Mixer ที่ราคาสูง
ภาพประกอบ : ผลจากการทดลองข้างต้น ได้ให้แนวทางว่า RET Lotader AX8900 ประมาณ 1.8% สามารถใช้โมดิฟายยางได้ตามข้อกำหนด PG 82 -22
หลากหลายเกรด Lotader AX จากบริษัท SK Functional Polymer
เราเป็นตัวแทนจำหน่าย
Reactive Ethylene Terpolymer Lotader AX จากประเทศฝรั่งเศส
เครื่องมือ Lab ต่างๆ สำหรับงานวิเคราะห์ยางมะตอย จากประเทศฝรั่งเศส
หากท่านมีความสนใจการทำ
สามารถติดต่อสอบถามเข้ามาหาเราได้ตลอดเวลานะครับ